กติกา

ปัจจุบันกีฬามวยไทยอาชีพบนเวทีมวยมาตรฐานและ กีฬามวยไทยสมัครเล่น เป็นการต่อสู้ที่มีกฏกติกาชัดเจน มีนายสนามผู้ขออนุญาตจัด มีผู้จัดชก(Promoter)มีกรรมการให้คะแนนและกรรมการตัดสินชี้ขาด (Judge/Julies/Referee)กรรมการตัดสินจะต้องมีอย่างน้อย สาม คน มีกรรมการตัดสินชี้ขาดบนเวทีและกรรมการให้คะแนน การให้คะแนนนิยมให้เป็นยก ยกละ 10 คะแนน (ดูจากการใช้ศิลปะการป้องกัน/การต่อสู้ /ความบอบช้ำที่ได้รับ/อันตรายจากบาดแผล /การได้เปรียบเสียเปรียบ/การคาดการณ์ผลสุดท้ายของการต่อสู้/การตัดคะแนนจากการเอารัดเอาเปรียบคู่ชกในขณะที่ไม่เหมาะสม/การถูกทำให้เสียหลักหรือล้ม/การถูกนับ/ฯลฯ )ซึ่งพิจารณาโดยใช้หลักวิชาและประสบการณ์ของกรรมการที่ผ่านการตรวจสอบรับรองความเชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับ การชกจัดเป็นยกมี ๕ ยก ๆละ ๓ นาที พัก ๒ นาที (เดิมกำหนด ๔ ถึง ๖ ยก) มุ่งผลเพียงแค่ แพ้ ชนะ และการแสดงออกของศิลปะการต่อสู้ชั้นสูง ผู้ชกต้องแต่งกายตามกำหนด และมีการสวมมงคลคาดผ้าประเจียด และก่อนชกต้องมีการไหว้ครูซึ่งเริ่มจากนั่ง/กราบเบญจางคประดิษฐ์/คุกเข่าถวายบังคม /ขึ้นพรหมนั่ง-ยืน /ท่ารำมวย (อาจมีการเดินแปลง ย่างสามขุม การรูดเชือก การบริกรรมคาถา) เพื่อสำรวจ ทักทายหรือข่มขวัญซึ่งแตกต่างกันไปตามค่าย/สำนัก ท่ารำมวย อาทิ พระรามแผลงศร, ลับหอกโมกขศักดิ์ ,กวางเหลียวหลัง ,หงส์เหิร ,สาวน้อยประแป้ง ฯลฯ มีการบรรเลงดนตรีให้จังหวะในการต่อสู้ซึ่งใช้เพลงสะหระหม่าแขกใช้ในการไหว้ครู เพลงบุหลันชกมวย และเพลงเชิด ใช้ในการต่อสู้ เครื่องดนตรีไทยที่ใช้บรรเลงประกอบด้วย ปี่ชวา ,กลองแขก,ฉิ่ง